อย่างไรที่เรียกว่า  “รัฐธรรมนูญที่กินได้”

 

                        คำถามที่ต้องย้อนไปว่า  รัฐธรรมนูญในอดีตที่ผ่านมา  มีผลบังคับใช้ไม่  100 %  ทำให้มีคำถามตามมาคือ  รัฐธรรมนูญต้องกินได้ใช่หรือไม่  ลองมองต่างมุมกันว่า  ที่ว่าต้องกินได้มันเป็นอย่างไร  คำตอบคือ 

1.      ประเทศไทยเรายังมีปัญหาชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนใช่หรือไม่

2.      ประชาชนเข้าถึงกฎหมายยากใช่หรือไม่

3.      ประชาชนมองการใช้อำนาจรัฐเป็นการรังแกใช่หรือไม่

สิ่งที่ทำให้ชาวบ้านอย่างเราๆวิตกกันมากคือ  กรณีไม่ได้รับความเป็นธรรมในทุกเรื่องที่มีอำนาจรัฐเข้าไปเกี่ยวข้อง  เพราะ  มันไม่มีมาตรฐานเหมือนคอมพิวเตอร์  แต่อำนาจรัฐเป็นการใช้ดุลพินิจพิจารณาบนพื้นฐานของกฎหมาย  เหมือนอย่างน้ำ  2  แก้ว  เอามารวมกัน  แยกไม่ออกว่า  น้ำไหน  แก้วไหน  นั่นเอง  ดังนั้น  การที่จะเรียกความเชื่อมั่นกลับมา  คือ  การมีส่วนร่วมของประชาชน  หรือเรียกให้โก้โก้หน่อยว่า  “การเมืองภาคพลเมือง”  ในขั้นนี้ยังกินไม่ได้  แต่เท่ห์อย่างเดียว  ที่ว่าจะกินได้  ต้องลงไปดูกฎหมายลูกและเจตนารมณ์รัฐธรรมนูญ  ทุกมาตราที่เขียนขึ้นมีบันทึกเจตนารมณ์หมด  แต่หาดูยาก  ทำไมถึงไม่เผยแพร่ก็ไม่รู้ (แปลกแต่จริงครับ)

กระบวนการได้มีซึ่งรัฐธรรมนูญปี  2550  นับว่า  เป็นนวัตกรรมทางการเมืองอย่างหนึ่งที่เรียกอย่างนี้เพราะว่า  มันมีคุณค่า  โดยไม่ต้องลงทุนเพิ่ม

หลังจากมีการเลือกตั้ง  มีรัฐบาล  มีสภาผู้แทนราษฎร  มีวุฒิสภา  เราจะมาดูกันอีกว่า  สิ่งที่จะเกิดตามมามีอะไรบ้าง

1.      ความไม่เสถียรของรัฐบาล  แปลง่ายๆเปรียบเสมือนรถยนต์ที่เครื่องยนต์เดินสะดุดเป็นระยะๆนั่นเอง

2.      เมื่อการเมืองเป็นเรื่องเบื่อหน่ายสำหรับประชาชน  คำตอบตามมาก็คือ  ใครก็ได้ที่มีฝีมือ  ทำให้ประชาชนกินดีอยู่ดี  มีความปลอดภัยในชีวิต  ทรัพย์สินและประเทศชาติจะก้าวไปสู่ความมั่นคั่งทางเศรษฐกิจ  ประชาชนเอาทั้งนั้น

3.      รัฐธรรมนูญฉบับปี  2550  ให้ประชาชนเข้าชื่อถอดถอนนักการเมือง  แก้ไขรัฐธรรมนูญ  แก้ไขกฎหมายได้  อย่าลืมว่า  รัฐธรรมนูญจะกินได้หรือไม่ได้  ประชาชนจะเป็นคนตัดสิน(ระวัง)  ถ้ารัฐธรรมนูญไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์

 

 

 

Free Web Hosting